Saturday, April 17, 2010

การผิดศิลข้อ 3

ผลของการผิดศีลข้อ 3

1.มีผู้เกลียดชังมาก
2.มีผู้ปองร้ายมาก
3.ขัดสนทรัพย์
4.ยากจนอดยาก
5.ได้เกิดเป็นหญิง(เป็นหญิงที่อาภัพนะครับเช่นเป็นโส เภณี,ถูกข่มขีน,หน้าตาอัปลักษณ์,พิการ...)
6.เป็นกะเทย
7.เกิดเป็นชายในตระกูลต่ำ
8.ได้รับความอับอายอยู่เสมอ
9.ร่างกายไม่สมประกอบ
10.มีความห่วงกังวล วิตกอยู่เป็นนิจ
11.ผู้ที่ตนรักก็ถูกพรากไป

กุศลวิบากได้นำมาเกิดเป็นมนุษย์ แต่วิบากที่เป็นอกุศลมาเบียดเบียน
ทำให้มีความผิดปกติทางเพศ เพราะเจตนา(กรรม) ที่เป็นอกุศล เกี่ยวกับเรื่องเพศ (กาเมสุมิจฉาจาร )

การผิดศิลข้อ 3
ยามเมื่อยังมีชีวิตอยู่นั้น ผลของกรรม(การกระทำ) ย่อมเท่าทัน คือ
1. ผลที่เกิดกับตัวผู้ชายคนนั้นและผู้หญิงที่เป็นชู้ ก็ทุกข์ใจ ไม่สบายใจ กังวลใจ เพราะกรรมนั้นไม่เป็นที่ยอมรับสำหรับบุคคลทั่วไป
พวกเขาก็จะวุ่นวายใจเพื่อหาคนเข้าใจ เสียเวลาไปแทนที่จะกังวลสุข ก็กังวลทุกข์แทน
2. ผลที่เกิดกับผู้ละเมิดกาม เขาต้องคอยกังวลใจกลัวถูกจับได้ เพราะเข้าต้องลักลอบทำ หวาดระแวง เป็นกังวล ไม่ปกติสุข
และผลกระทบมากมายจากการพูดเท็จ หลีกเหลี่ยง หลบหลีก เสียเวลา ไม่สามารถพัฒนาและสร้างสรรค์ได้เต็มที่
3. ผลที่จะเกิดกับอนาคตเบื้องหน้า เป็นผลจากเหตุในวันนี้ เมื่อพวกเขาหลอกก็ยังต้องหลอกกันต่อไป
พวกเขาจะไม่ได้ยืนอยู่ในโลกของความเป็นจริง ทางเดินก็แคบลงเพราะความสร้างสรรค์น้อยกว่าที่ควร
ปัญหาตกกระทบที่ต่อเนื่องกันเป็นลูกโซ่มากมาย ยามเมื่อสิ้นชีวิตไปแล้ว
ภาวะจิตที่ต้องคอยแต่หวาดระแวง ซ้อนเร้น และหลอก หลีก หลบ ทำให้สภาวะจิตอยู่ในสภาพที่เรียกอ่านซ้ำๆแบบนั้น
พวกเขาจะไปอยู่ที่ใด อะไรที่ได้ซ้ำๆจนกว่าจะเท่าทันกรรมของพวกเขา


ตามสัพพลหุสสูตร
[๑๓๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปาณาติบาตอันบุคคลเสพแล้ว เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว
ย่อมยังสัตว์ให้เป็นไปในนรก ในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ใน เปรตวิสัย
วิบากแห่งปาณาติบาตอย่างเบาที่สุด ย่อมยังความเป็นผู้มีอายุน้อยให้เป็นไปแก่ผู้มาเกิดเป็นมนุษย์ ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อทินนาทานอันบุคคลเสพแล้ว เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว
ย่อมยังสัตว์ให้เป็นไปในนรก ในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ในเปรตวิสัย
วิบากแห่งอทินนาทานอย่างเบาที่สุด ย่อมยังความพินาศแห่งโภคะให้เป็นไปแก่ผู้มาเกิดเป็นมนุษย์ ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย กาเมสุมิจฉาจารอันบุคคลเสพแล้ว เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว
ย่อมยังสัตว์ให้เป็นไปในนรก ในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ในเปรตวิสัย
วิบากแห่งกาเมสุมิจฉาจารอย่างเบาที่สุด ย่อมยังศัตรูและเวรให้เป็นไปแก่ผู้มาเกิดเป็นมนุษย์ ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย มุสาวาทอันบุคคลเสพแล้ว เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว
ย่อมยังสัตว์ให้เป็นไปในนรก ในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ในเปรตวิสัย
วิบากแห่งมุสาวาทอย่างเบาที่สุด ย่อมยังการกล่าวตู่ด้วยคำไม่เป็นจริงให้เป็นไปแก่ผู้ มาเกิดเป็นมนุษย์ ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปิสุณาวาจาอันบุคคลเสพแล้ว เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว
ย่อมยังสัตว์ให้เป็นไปในนรก ในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ในเปรตวิสัย
วิบากแห่งปิสุณาวาจาอย่างเบาที่สุด ย่อมยังการแตกจากมิตรให้เป็นไปแก่ผู้มาเกิดเป็นมนุษย์ ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผรุสวาจาอันบุคคลเสพแล้ว เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว
ย่อมยังสัตว์ให้เป็นไปในนรก ในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ในเปรตวิสัย
วิบากแห่งผรุสวาจาอย่างเบาที่สุด ย่อมยังเสียงที่ไม่น่าพอใจให้เป็นไปแก่ผู้มาเกิดเป็น มนุษย์ ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัมผัปปลาปะอันบุคคลเสพแล้ว เจริญแล้ว กระทำ ให้มากแล้ว
ย่อมยังสัตว์ให้เป็นไปในนรก ในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ในเปรตวิสัย
วิบากแห่งสัมผัปปลาปะอย่างเบาที่สุด ย่อมยังคำไม่ควรเชื่อถือให้เป็นไปแก่ผู้มาเกิดเป็นมนุษย์ ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย การดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัยอันบุคคลเสพแล้ว เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว
ย่อมยังสัตว์ให้เป็นไปในนรก ในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ในเปรตวิสัย
วิบากแห่งการดื่มสุราและเมรัยอย่างเบาที่สุด ย่อมยังความเป็นบ้าให้เป็นไปแก่ผู้มาเกิดเป็นมนุษย์ ฯ

ฝ่ายภรรยาหรือสามีที่ถูกคู่ครองของตนประพฤตินอกใจ ก็อโหสิกรรม จะได้ไม่เป็นกรรมเวรต่อกันอีก
ระหว่างนี้ก็ทำหน้าที่ภรรยาหรือสามีที่ดีอย่าให้ขาดตกบกพร่อง(จนกว่าจะเลิกกันจริงๆ)
ระหว่างนี้ก็ทำบุญ ทำทาน ทำสังฆทาน ไปเรื่อยๆ

การทำบุญล้างบาป หรือทำบุญละลายบาป จะได้หรือไม่?


การทำบุญละลายบาปนั้นเป็นสิ่งที่เป็นไปได้ คือใช้ความดีละลายความชั่วให้เจือจาง เช่นความชั่วเกิดขึ้นในใจ เมื่อความคิดดีขึ้น ความชั่วย่อมถอยไป ถ้าความดีเกิดขึ้นบ่อยๆ ไม่ให้โอกาสแก่ความชั่ว ความชั่วก็เกิดขึ้นไม่ได้ เรียกว่าเอาความดีมา ไล่ความชั่วหรือละลายความชั่ว

อีกอย่างหนึ่ง ความชั่วที่บุคคลทำลงไปแล้ว ซึ่งจะมีผลในโอกาสต่อไป ถ้าผู้นั้นเร่งทำความดีให้มากขึ้น จนท่วมท้นความชั่ว ผลของกรรมชั่วก็ค่อยๆ จางลงจนไม่มีอนุภาพในการทำอันตรายให้ทุกข์ เปรียบเหมือนกรด(เอซิด) ซึ่งมีคุณสมบัติทำลายชีวิตได้ แต่ถ้าเติมด่าง(อัลคอไลน์)ลงไปเรื่อยๆ กรดนั้นก็เจือจางลง หมดคุณสมบัติในการทำลายให้โทษ

เปรียบอีกอย่างหนึ่ง เหมือนเกลือกับน้ำ สมมุติว่าเอาเกลือกำมือหนึ่งใส่ลงไปในน้ำแก้วหนึ่ง น้ำนั้นจะเค็มมากเพราะน้ำน้อย แต่ถ้าเราเอาเกลือจำนวนนั้นใส่ลงไปในถังใหญ่ๆ ความเค็มจะไม่ปรากฎแม้เกลือจะยังมีอยู่เท่าเดิม มันกลายเป็นมีเหมือนไม่มี ที่ทางพระท่านเรียก"อัพโพหาริก" แปลว่า"มีเหมือนไม่มี" เรียก ไม่ได้ว่ามีเหมือนไม่มี เหมือนน้ำในก้อนดินแห้งหรือเนี้อไม้ เรารู้ได้ว่าความชื้นเป็นคุณสมบัติของน้ำ เมื่อเราจุดไฟเผามีควันขึ้นมา เอาน้ำเกลือในแก้วซึ่งเค็มมากนั้น เทลงในถังใหญ่ๆ แล้วเติมน้ำลงไปเรื่อยๆ โดยไม่เติมเกลือ ในที่สุดน้ำก็จะไม่ปรากฎความเค็มเลยเพราะจำนวนเหนือจำนวนเกลือมากนัก ข้อนี้ฉันใด การทำความดีละลายความชั่ว หรือละลายผลแห่งกรรมชั่วก็เป็นฉันนั้น ในที่นี้ความชั่วเปรียบเหมือนเกลือ ความดีเปรียบเหมือนน้ำ ในทางกลับกัน กรรมดีเล็กน้อยอาจถูกกรรมชั่วละลายได้เช่นกัน

Saturday, March 27, 2010

พระไตรปิฎก

พระไตรปิฎก เป็นคัมภีร์ที่บรรจุคำสอนของพระพุทธศาสนา ซึ่งเรียกรวมๆ ว่า พุทธธรรม คำว่าพระไตรปิฎกมาจากภาษาบาลี ติปิฏก แปลว่า ตะกร้าสามใบ หรือคำสอนสามหมวด (ติ หมายถึง สาม ปิฏก หมายถึง ตำรา คัมภีร์ หรือกระจาด) สันนิษฐานว่าที่มาของคำว่าพระไตรปิฎกน่าจะมาจากการที่พระภิกษุจดจารึก คัมภีร์ใส่ลงในใบตระกูลปาล์มและใส่ลงในตระกร้า ถ้าอาศัยหลักฐานทางวิชาการ เชื่อว่าไตรปิฎกเป็นชื่อที่ใช้กันมาก่อนจะสังคายนาครั้งที่ 3 เพราะมีการใช้คำพูดว่า "ไตรปิฎก" ในประวัติศาสตร์ยุคพระเจ้าอโศกก่อนการสังคายนา ครั้งที่ 3 จึงเชื่อได้ว่าหลังสังคายนาครั้งที่ 2 พระสงฆ์มีการแยกพระอภิธรรมออกจากพระสูตรแล้วเมื่อสังคายนาครั้งที 3 จึงแยกอย่างเป็นเรื่องเป็นราวจริง ซึ่งคำสอนสามหมวดนี้ ได้แก่
  • พระวินัยปิฎก หรือ พระวินัย ได้แก่ประมวลระเบียบข้อบังคับของบรรพชิตที่พระพุทธเจ้าทรง บัญญัติไว้สำหรับภิกษุและภิกษุณี
  • พระสุตตันตปิฎก หรือ พระสูตร ได้แก่ประมวลพระพุทธพจน์ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงยังที่ต่างๆ ให้เหมาะกับบุคคล สถานที่ และเหตุการณ์ มีเรื่องราวประกอบ
  • พระอภิธรรมปิฎก หรือ พระอภิธรรม ได้แก่ประมวลคำสอนที่เป็นหลักวิชาการล้วนๆ ไม่เกี่ยวด้วยบุคคลหรือเหตุการณ์ ไม่มีเรื่องราวประกอบ
พระไตรปิฎกมีเนื้อหารวมทั้งสิ้น 84,000 ธรรมขันธ์ ฉบับพิมพ์ภาษาไทยนิยมจัดแยกเป็น 45 เล่ม เพื่อหมายถึงระยะเวลา 45 พรรษาแห่งพุทธกิจ

ติดตามพระไตรปิฎก บทที่น่าสนใจได้ต่อไป...

Wednesday, March 24, 2010

ว่ากันด้วย "ศีลห้า"

พระพุทธศาสนา ให้คนคิด พิจารณาก่อนตัดสินใจที่จะ เขื่อ และนับถือ   หลักธรรมที่ใช้ได้ในชีวิตประจำวัน คือ ศีล 5 นี้ละครอบคุมทั้งหมด
ศีล 5 คุณธรรมขั้นต้นของมนุษย์  
ศีล แปลว่า ปกติ คือ การควบคุมรักษากาย วาจา ของตนไว้ ให้บริสุทธิ์หรือให้สงบ มีความมุ่งหมายเพื่อควบคุมโทสะ ความโหดร้อยหยาบคายทางกายวาจา รักษาตนไว้ไม่ให้เสียหาย
ถ้าใครรักษาศีลไว้ได้ไม่ครบหรือรักษาไม่ได้เลย ก็เรียกว่า ผิดปกติของมนุษย์ เพราะปกติของมนุษย์ จะต้องไม่เบียดเบียนกันด้วย กาย วาจา เยี่ยงสัตว์ทั้งหลาย 

ศีล เมื่อรักษาไว้ได้ย่อมได้บุญ เพราะทำให้สามารถรักษาบุญเก่าไว้ได้ คือ ไม่เปิดโอกาสให้กิเลสรุกคืบหน้าเข้ามาได้
ทำให้ได้บุญใหม่ คือ ตั้งใจมั่นพร้อมที่จะรับความดีที่สูงขึ้นอีกต่อไป
ศีล จะเกิดขึ้นได้เพราะมีความตั้งใจอยู่เป็นทุนเดิมว่า จะไม่ล่วงละเมิด ไม่ใช่เพราะไม่มีโอกาสจึงไม่ล่วงละเมิด ดังนั้นบุญจากากรรักษาศีลจะมากหรือน้อยจึงขึ้นอยู่กับความตั้งใจ